ปัญหา
ความไม่สงบในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เริ่มส่อเค้าความรุนแรงมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2547 จากเหตุการณ์เผาโรงเรียน
20 แห่ง ตามด้วยการบุกเข้าปล้นปืนค่ายกองพันพัฒนาที่ 4 กว่า 100
กระบอกในจังหวัดนราธิวาส ก่อนจะจบลงด้วยคำพูดที่ว่า ?มันก็แค่โจรกระจอก?
ของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ในครั้งนั้น
กลายเป็นความยั่วเย้าให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
โหมกระพือไฟแห่งความรุนแรงให้แผดเผาปลายด้ามขวานทองจนร้อนเป็นไฟมาจนทุก
วันนี้
การยิงปะทะกันระหว่างทหาร ตำรวจ กับกลุ่มผู้ก่อการร้าย
ที่มัสยิดกรือเซะในอีกไม่กี่เดือนถัดมา
เป็นเหมือนการร่นชนวนระเบิดเวลาให้ทำงานเร็วยิ่งขึ้น
การล้อมปราบผู้ประท้วงในเหตุจลาจลที่หน้าสภอ.ตากใบ
จนมีผู้เสียชีวิตนับร้อยในระหว่างขนย้ายผู้ก่อเหตุ ฯลฯ
การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐต่อประชาชนไม่กี่เหตุการณ์
แต่มีจำนวนผู้เสียชีวิตของชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ร่วมพัน
จากนั้นมาการเผาโรงเรียน สถานที่ราชการ ไปจนถึงการลอบยิงเจ้าหน้าที่รัฐ
ทั้งครู ทหาร ตำรวจ? กระทั่งผู้พิพากษา รวมถึงการวางระเบิดในสถานที่ชุมชน
ก็กลายเป็นข่าวรายวันที่เกิดขึ้นถี่ยิบไม่ต่างจากอาชญากรรมทั่วไป
ความคิด ความเชื่อ
ในเรื่องการแบ่งแยกดินแดนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
อาจเกิดขึ้นกับคนแค่จำนวนไม่กี่สิบ แต่การปฏิบัติกับประชาชนตาดำๆ
ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของเจ้าหน้าที่รัฐด้วยความรุนแรง
ปราศจากความยุติธรรม
ได้ผลักดันให้คนจำนวนไม่น้อยเข้าร่วมกับกลุ่มขบวนการผู้ก่อการร้ายในเวลาต่อ
มา
?พลเมืองจูหลิง?
สะท้อนปัญหาเหล่านั้นออกมาให้เรารู้สึกได้ครับ แม้หนังจะไม่ได้บอกตรงๆ
แต่หลายๆเหตุการณ์ล้วนมีนัยบ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าว
แม้หนังจะเปิดเรื่องด้วยการแสดงความรู้สึกของกลุ่มประชาชนหลากหลายที่มีต่อ
จูหลิง ปงกันมูล ครูผู้อุทิศตนแห่งโรงเรียนกูจิงลือปะ ในอำเภอระแงะ
จังหวัดนราธิวาส ตามด้วยการเรียงไล่เหตุการณ์ถูกจับเป็นตัวประกัน
ถูกรุมทำร้ายบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตลงในอีก 8 เดือนต่อมา
หลังเจ้าหน้าที่บุกเข้าไปช่วยเหลือนำตัวมารักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
หนังเริ่มต้นเหมือนพยายามจะนำเสนอชะตากรรมอันแสนเศร้าของครูจูหลิง
แต่เมื่อ อ.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ในอีกหนึ่งบทบาทของผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน
เดินทางไปยังสถานที่เกิดเหตุ บ้านกูจิงลือปะ เข้าไปดูในห้องเล็กๆ
ที่คุมขังครูจูหลิงในบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ซึ่งยังปรากฏคราบเลือดและร่องรอยของการรุมทำร้ายให้เห็น
เรื่องราวและมุมมองทั้งหลายก็ค่อยๆ เปลี่ยนไปเมื่อ อ.ไกรศักดิ์
เข้าไปพูดคุยกับกลุ่มชาวบ้านที่มัสยิดใกล้เคียง
จากนั้นความจริงที่เกิดขึ้นก็พรั่งพรูจากปากคำของพวกเขาชะตากรรมของครูจูหลิง คงไม่ต่างจากชะตากรรมของชาวบ้านกูจิงลือปะ รวมทั้งคนบริสุทธิ์อีกมากมายในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นัก ไม่ว่าชาวยะลา ปัตตานี นราธิวาส ต่างเคยถูกปฏิบัติด้วยความรุนแรงมาก่อนครูจูหลิงเสียอีก ที่สำคัญเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและที่ผ่านมาพวกเขาไม่เคยได้รับความ เป็นธรรม ถูกมองด้วยความระแวดระวังเกินเหตุ และถูกเหมารวมโดยไม่เคยแยกแยะระหว่างชาวบ้านกับผู้ก่อการร้าย
น้ำตาแห่งความเสียใจของชายวัยกลางคนที่ภรรยา
ถูกคุมขัง เพราะถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในเหตุรุมทำร้ายครูจูหลิง
ความรู้สึกของเขาอาจไม่ต่างจากพ่อแม่
ญาติมิตรครูจูหลิงที่ต้องสูญเสียผู้เป็นที่รักอย่างไม่มีวันกลับคืนเช่นกัน
หากทว่าน้ำตาของชายกลางคนผู้นั้น เอ่อท้นร่วมกับความรู้สึกทุกข์ยาก
เนื่องจากมีลูกๆ 6 คนเฝ้ารอการกลับมาของผู้เป็นแม่
นี่คือปัญหาที่สะท้อนกลับมาให้เรารู้สึกได้ จากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น
ครูจูหลิง อาจไม่ใช่เหยื่อรายแรก หากเธอเป็นผลพวงจากความรุนแรง
ความอยุติธรรม ที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐที่ปราศจากหลักนิติธรรม
แม้มองอย่างผิวเผินหนังพยายามกล่าวหาว่า ปัญหาดังกล่าวมาจากนโยบายของรัฐบาล
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่หากมองย้อนกลับไป
สิ่งที่ชาวบ้านกูจิงลือปะพูดเอาไว้กลางมัสยิด
หรือศิลปินล้านนาคนหนึ่งเอ่ยกับ อ.ไกรศักดิ์
ถึงการใช้ความรุนแรงในการจัดการกับปัญหายาเสพติดผ่านการกระทำต่อชนกลุ่มน้อย
ทางภาคเหนือ
ก็มาจากนโยบายประกาศสงครามยาเสพติดในสมัยรัฐบาลทักษิณมิใช่หรือ?คุณลุงชาวมุสลิม ร้องห่มร้องไห้เสียใจขนาดหนักจนไม่สามารถให้สัมภาษณ์ใดใดได้หลังถูกถามถึง เหตุการณ์สังหารหมู่ 19 เด็กหนุ่ม ที่ด่านตรวจ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ทั้งๆ ที่พวกเขาเป็นนักฟุตบอลประจำตำบลธารคีรีที่กำลังมีอนาคตไกล หลายๆ คนเป็นเรี่ยวแรง เป็นความหวังของครอบครัว และทั้งหมดเป็นเด็กความประพฤติดี ไม่เคยสร้างปัญหาให้แก่ชุมชนแม้แต่น้อย พวกเขาถูกยิงก่อนจะถูกจับกุม เพื่อสอบสวนหาสาเหตุที่มาที่ไป ชาวบ้านตากใบถูกกวาดต้อนไม่ต่างจากฝูงสัตว์ และความแออัดก็คร่าชีวิตคนบริสุทธิ์ที่อยู่ในเหตุการณ์อย่างไม่ตั้งใจ หรือการจับกุมตัว ?หมอแว? แวมะฮาดี แวดาโอะ อดีตส.ว.นราธิวาส ในข้อหาผู้ก่อการร้ายเจไอ ล้วนเป็นคำถามว่า ทั้งหมดนี้คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่? ถ้าใช่มาจากใคร ภาครัฐ หรือประชาชนด้วยกัน ถ้าเป็นอย่างหลังมีสาเหตุมาจากอะไร และใครเป็นผู้ลงมือก่อน
ทุกวันนี้ พ่อแม่พี่น้องและญาติๆ ครูจูหลิง ล้วนให้อภัยกับคนที่ทำร้ายเธอ แต่อาจยังคลางแคลงใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในขณะที่คนอีกมากมายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากสูญเสียคนที่รักแล้วพวกเขายังข้องใจและทวงถามถึงความยุติธรรมที่ยัง ไม่รู้ว่าหลงเหลืออยู่บ้างไหม? ภาพโปสเตอร์ธงชาติที่ขาดวิ่น คงเป็นเหมือนการตั้งคำถามและสะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้นใน ?พลเมืองจูหลิง? อย่างตรงไปตรงมาที่สุด
ชื่อเรื่อง : พลเมืองจูหลิง Citizen Juling
ผู้กำกับ : ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ, สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์, มานิต ศรีวานิชภูมิ
ความยาว : 222 นาที
วันที่เข้าฉาย : 12 สิงหาคม 52
โรงภาพยนตร์เฮ้าส์ อาร์ซีเอ
***พิเศษ ตลอดโปรแกรมการฉาย ขอเชิญชมนิทรรศการภาพถ่ายฝีมือของช่างภาพชาวญี่ปุ่น มาซารุ โกโตะ ในชุด ?สูญเสียผู้เป็นที่รัก? (Lost Loved Ones) ซึ่งจะสะท้อนภาพอารมณ์สูญเสียของเหตุการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้***
http://news.mthai.com/webmaster-talk/54809.html